ประเภทของเครื่องปรับอากาศและวิธีใช้อย่างประหยัด

Last updated: 17 พ.ย. 2561  |  18186 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องปรับอากาศ หรือเรียกเป็นภาษาพูดว่า แอร์ (อังกฤษ : A/C, Aircon, Air conditioner)
 
คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่หรือเพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือเขตขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นอาจเรียกว่าเครื่องทำความร้อน หรือ ฮีตเตอร์ (heater) 
 
เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบติดผนัง สำหรับที่พักอาศัย แบบแขวนใต้ฝ้า แบบตั้งแขวน แบบฝ้งฝ้า 4 ทิศทาง และแบบซ่อนในฝ้าต่อท่อลม ทำงานด้วยหลักการการถ่ายเทความร้อน กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย 
 
ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน ถ้าแบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยุนิท FCU (ส่วนที่เป่าลมเย็นให้กับภายในห้อง) จะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักและ 8 ประเภทย่อยดังนี้

1. แบบชิ้นเดียว
ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งหน่วยภายนอก CDU/Condensing Unit ประสิทธิภาพทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมออกตามท่อน้ำยา ตัวแฟนคอยล์ ยุนิต FCU จะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต CDU (ส่วนที่เป่า/ระบายลมร้อนไปกับอากาศภายนอก) หรือที่พวกเราคุ้นเคยในในชื่อ
 
แอร์ฝังหน้าต่าง/ผนัง | Window Type  
 
 
ข้อดีคือ : เครื่องแบบนี้คือขนาดกะทัดรัดติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยาแอร์ 
ข้อเสียคือ : เสียงจะค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะเมื่อเก่ามากๆ) แรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่องและโครงสร้างของจุดที่ติดตั้งก็มีสูง และถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณช่องหน้าต่าง/ผนัง ไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้ ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม 

แบบเคลื่อนที่ | Portable Type
 
 
ข้อดีคือ : ขนาดเล็กไม่ต้องติดตั้ง เข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่
ข้อเสียคือ : ใช้ได้กับห้องที่ขนาดใหญ่ไม่มาก ต้องต่อท่อเป่า/ระบายลมร้อนไว้ภายนอก ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำ 

2.แบบแยกชิ้น | Split Type
 
 
เป็นแบบที่เราเห็นกันได้ทั่วไปและนิยมมากที่สุด เพราะเครื่องระบายความร้อนจะโดนแยกออกไปวางไว้ที่อื่น คอยล์ร้อน CDU จะแยกไปติดตั้งภายนอกอาคารซึ่งจะแยกออกจากส่วนของคอยล์เย็น FCU ซึ่งจะติดตั้งอยู่ภายในอาคาร ทำให้มีข้อดีคือเงียบแต่จะยุ่งยากในส่วนของการติดตั้งมากกว่าระบบติดหน้าต่าง เพราะต้องคำนึงถึง การเดินท่อระหว่างเครื่องที่แยกส่วน ท่อระบายน้ำจากที่เป่าลมเย็น ( Fan Coil ) ด้วย ทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก

ข้อเสียคือ : ไม่สามารถเดินท่อน้ำยาที่ยาวได้ ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องต่อหรือเดินท่อยาวก็จะต้องติดตั้งคอยล์ร้อน CDU กับ คอยล์เย็น FCU ให้อยู่ห่างซึ่งอาจจะทำให้ความเย็นน้อยลง
หมายเหตุ : การติดตั้งต้องใช้เครื่องมือและช่างที่มีความชำนาญในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

แบบติดผนัง | Wall Type
 
ข้อดีคือ : มีให้เลือกหลากหลาย เงียบ ติดตั้งง่าย รวดเร็วขนาดกระทัดรัด ประหยัด และประสิทธิภาพสูง
ข้อเสียคือ : ไม่เหมาะกับงานหนักเนื่องจากคอยล์มีขนาดเล็กส่งผลให้อุดตันง่ายสกปรกกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
 
แบบกึ่งติดผนังแนบใต้ฝ้า : 30,000-36,000 บีทียู/BTU | High Wall Split-type
 
ข้อดีคือ : สามาถติดตั้งบนผนังสูง มีขนาดทำความเย็น/BTU สูงกว่าแรงลมสูงกว่าแบบติดผนัง ดีไซน์โดดเด่นสวยทันสมัยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองผู้ใช้อย่างเต็มที่ 
ข้อเสียคือ : มีราคาสูงกว่าแบบติดผนัง (Wall Type) เล็กน้อย

แบบตั้งแขวน | Convertible Type
 
ข้อดีคือ : เลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน เข้าได้กับทุกสถานที่ การระบายลมดี สามารถส่งลมเย็นได้ไกล
ข้อเสียคือ : ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก ราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังในขนาดทำความเย็นที่เท่ากัน

แบบซ่อนในฝ้า ต่อท่อลม | Ducted Type
 
ข้อดีคือ : สามารถฝังเรียบไว้ที่บริเวณขอบของบนเพดานห้องทำให้ห้องโปร่งโล่ง ดูกลมกลืนและสวยงาม
ข้อเสียคือ : ติดตั้งยากเนื่องจากต้องฝังเข้าตู้หรือเพดานห้อง การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก
 
แบบแขวนใต้ฝ้า | Under Ceiling Type
 
ข้อดีคือ : บางสวยงาม กระจายลมได้ดีมาก การดูแลรักษาทำได้สะดวก
ข้อเสียคือ : เสียงดังกว่าแบบติดผนัง จึงอาจจะไม่เหมาะกับการติดในห้องนอนที่ต้องการความเงียบ  

แบบฝังฝ้า สี่ทิศทาง | Cassette Type
 
ข้อดีคือ : สวยงามกระจายลมได้ทั้ง 4 ทิศทาง ออกแบบให้ทำงานได้ดีกว่า และเงียบกว่าเครื่องปรับอากาศประเภทอื่น
ข้อเสียคือ : มีข้อจำกัดในการติดตั้ง เช่น ไม่สามารถติดตั้งในฝ้าบุ๋มได้ มีการดูแลที่ยากและซับซ้อนกว่า
 
แบบตู้ตั้งพื้น | Floor Standing Type
 
ข้อดีคือ : ติดตั้งง่ายสามารถตั้งกับพื้นได้ไม่ต้องยึดผนังทำความเย็นได้เร็ว เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมใหญ่ ให้กำลังลมที่แรงกว่าการบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่าเพราะ ช่องบริการอยู่ทางด้านหน้าของตัวเครื่องฯ 
ข้อเสีย : คือเปลืองพื้นที่ใช้สอย


วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงานและคุ้มค่า 

ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศที่ใช้เป็นประจำ เพื่อให้การระบายความร้อนทำได้สะดวก การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือใช้งานมานาน การลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามายังบริเวณที่ปรับอากาศ

การลดความร้อนผ่านผนัง ผนังกระจกควรป้องกันความร้อนโดยใช้เครื่องบังแดดภายในอาคารหรือ การหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายในผนังปูน ให้ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อน หรือใช้วัสดุผิวมัน เช่น กระเบื้องเคลือบเพื่อช่วยสะท้อนแสง
 
ปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดดเพื่อให้ร่มเงาแก่ผนังห้อง โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ส่วนที่ไม่มีเงากำบังมีความร้อนมากควรบุฉนวนกันความร้อน หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ตั้งกั้นไว้ไม่ให้ความร้อนแผ่เข้ามาในห้องเร็วนัก ผนังอาคารที่เป็นไม้หากมีช่องห่างของไม้มาก ควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัดเพื่อกันการผ่านของความร้อนจากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร

การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคาร เพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรงซึ่งเป็นการเพิ่มความร้อน ให้แก่อาคาร ไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตู, หน้าต่างหรือ บริเวณฝ้าเพดาน การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้องควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อน หรือบุฉนวนกันความร้อนเพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามากควรเจาะช่องลมเพื่อระบายอากาศ

การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้สนิท แอร์จะได้ไม่รั่วออกไปจัดพื้นที่ในห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องแต่งตัว อยู่ทางทิศตะวันตกช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าถึงห้องที่ใช้สอยประจำคือส่วนของห้องนอน ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิลงได้

พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคาร ควรปิดไฟที่ไม่จำเป็น ภายในอาคารควรใช้สีอ่อน ช่วยการสะท้อนแสงทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนควรใช้นอกห้อง

อ้างอิงจาก : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้